รักกันนะ <3
วันพุธที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557
โครงการ บริการมอบสื่อการเรียนการสอนแก่ศูนย์เด็กเล็ก
Surface แท็บเล็ตสายพันธุ์ใหม่

หลังจากที่มีข่าวออกมาว่าไมโครซอฟท์ เตรียมเปิดตัวแท็บเล็ตที่ใช้ระบบปฏิบัติการ "Window 8" ไปเมื่อวันทึ่ 18 มิถุนายนที่ผ่านมานั้น ล่าสุด ไมโครซอฟท์ได้เปิดตัวแท็บเล็ตดังกล่าวเป็นที่เรียบร้อย โดยใช้ชื่อว่า "Surface" หลังจากปล่อยให้ แอปเปิล, กูเกิล และอเมซอน ประสบความสำเร็จไปก่อนหน้า
ไมโครซอฟต์ ผู้ผลิตซอฟแวร์คอมพิวเตอร์ชื่อดังของสหรัฐฯ ประกาศเปิดตัวคอมพิวเตอร์แท็บเล็ตรุ่นใหม่ โดยใช้ชื่อว่า "เซอร์เฟซ" (Surface) ซึ่งออกแบบมาเพื่อรองรับระบบปฏิบัติการ "วินโดวส์ 8" ของไมโครซอฟต์โดยเฉพาะ อีกทั้งยังมีลูกเล่นอื่นๆที่ทำให้แตกต่างจากแท็บเล็ตทั่วไปในท้องตลาด อาทิ ขาตั้งที่สามารถพับเข้าออกได้จากตัวเครื่อง และเคสที่สามารถเปิดออกเป็นแป้นพิมพ์ได้คล้ายคอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊ก
นอกจากนั้น แท็บเล็ตรุ่นใหม่ของไมโครซอฟต์ ยังมีโปรเซสเซอร์ให้เลือกได้ 2 แบบ ทั้งในแบบเออาร์เอ็ม และอินเทล โดยมีหน้าจอขนาด 10.6 นิ้ว ใหญ่กว่าไอแพด ซึ่งเป็นแท็บเล็ตคู่แข่งจากค่ายแอปเปิล

สำหรับเซอร์เฟซ จะผลิตออกมา 2 รุ่น คือ "Surface for Windows RT" ประมวลผลด้วยโพรเซสเซอร์เออาร์เอ็ม หน้าจอสัมผัสมีขนาด 10.6 นิ้ว และแสดงภาพในระบบเอชดี มาพร้อมกับ Office Home & Student 2013 RT สนับสนุนการทำงานร่วมกับปกแม่เหล็กพร้อมคีย์บอร์ด และขาตั้งด้านหลัง พื้นที่เก็บข้อมูลมีทั้ง 32 กิกะไบท์ และ 64 กิกะไบท์ น้ำหนักของตัวเครื่อง 676 กรัม และมีความหนา 9.3 มิลลิเมตร มีช่องต่ออุปกรณ์แบบ microSD, USB 2.0, microSD, 2×2 MIMO antennae(wireless)
ขณะที่อีกรุ่น "Surface for Windows 8 Pro" ทำงานด้วยชิปอินเทล คอร์ มีขนาดหน้าจอ 10.6 นิ้วเท่ากัน ตัวเครื่องหนัก 903 กรัม และมีความหนา 13.5 มิลลิเมตร มาพร้อมปกแม่เหล็ก พื้นที่เก็บข้อมูลมีทั้ง 64 กิกะไบท์ และ 128 กิกะไบท์ สามารถทำงานได้ทั้งแบบใช้มือและใช้ปากกา โดยหากใช้ปากกาจะเข้าสู่การเขียนการวาดโดยอัตโนมัติ และมาพร้อมช่องต่ออุปกรณ์แบบ microSDXC, USB 3.0, Mini Display Port Video, 2×2 MIMO antennae
สตีฟ บอลเมอร์ ซีอีโอของไมโครซอฟต์ เปิดเผยว่า การเปิดตัว "เซอร์เฟซ" ถือเป็นความพยายามของไมโครซอฟต์ ในการผลิตคอมพิวเตอร์ฮาร์ดแวร์ ที่สามารถรองรับซอฟแวร์ของตนเอง

ขณะที่ผู้เชี่ยวชาญชี้ว่า ไอแพดกำลังเผชิญความท้าทายครั้งใหม่ เนื่องจากเซอร์เฟซ สามารถใช้โปรแกรมมาตรฐานทั่วไปได้ อาทิ โฟโต้ชอป และโปรแกรมออฟฟิศต่างๆ
อย่างไรก็ตาม ไมโครซอฟต์ยังอาจต้องแข่งขันกับผู้ผลิตแท็บเล็ตรายอื่นๆ ที่มีแผนใช้ระบบปฏิบัติการ Windows 8 ของไมโครซอฟต์ด้วยเช่นกัน โดยนักวิเคราะห์ระบุว่า การเปิดตัวเซอร์เฟซครั้งนี้ น่าจะสร้างความหนักใจให้กับคู่แข่งรายอื่นๆ เนื่องจากไมโครซอฟต์ไม่ต้องจ่ายค่าลิขสิทธิ์การใช้ซอฟแวร์ของตนเอง ทำให้สามารถตั้งราคาที่ได้เปรียบคู่แข่งทั่วไปในท้องตลาด
แล็บท็อปตัวแรกของโลก

หนังสือพิมพ์ "เดลี่เมล์" ได้รายงานข่าวเปิดโฉมคอมพิวเตอร์ "แล็บท็อป" ตัวแรกของโลกเป็นคอมพิวเตอร์ ชื่อ"ออสบอร์น 1" ถูกผลิตโดยนายอดัม ออสบอร์น ซึ่งพยายามจะปฎิวัติวงการอุตสาหกรรมคอมพิวเตอร์ โดยแล็บท๊อบตัวนี้มีน้ำหนักราว 24 ปอนด์ ราคา 1,300 ปอนด์ (ราว 36,400 บาท) และถูกนำไปแสดงโชว์ในนิทรรศการ"คอมพิวเตอร์ เวสต์โคสต์"เมื่อปี 1981
ในรายงานได้ระบุว่า คอมพิวเตอร์ตัวนี้ มีหน่วยความจำเพียง 64 KB โดยมีหน้าจอขนาดเล็กเพียง 5 นิ้ว และมีช่องเสียบแผ่นดิสก์ ขนาด 5.25 นิ้ว นอกจากนี้ยังมีคียบอร์ดขนาดมาตรฐาน ใช้ระบบปฎิบัติการ CP/M และกลายเป็นที่นิยมอย่างสูงในยุคนั้น เรียกได้ว่าเป็นยุคทองของเจ้า ออสบอร์น เลยทีเดียว หลักฐานสำคัญว่าเป็นยุคทองของเจ้า ออสบอร์น ก็คือ ในปี ค.ศ. 1982 มันสามารถขายได้มากกว่า 125,000 เครื่อง ก่อนหมดสิ้นความนิยม หลังจาก "ไอบีเอ็ม" ได้เริ่มสร้างอาณาจักรธุรกิจคอมพิวเตอร์ประกอบชิ้นส่วนขึ้นมา และถูกตีตลาดจากผู้ผลิตคอมพิวเตอร์ยี่ห้อ "คอมแพค" หลังจากนั้นบริษัท "ออสบอร์น" จำต้องล้มละลายในลงปี 1983
ในรายงานได้ระบุว่า คอมพิวเตอร์ตัวนี้ มีหน่วยความจำเพียง 64 KB โดยมีหน้าจอขนาดเล็กเพียง 5 นิ้ว และมีช่องเสียบแผ่นดิสก์ ขนาด 5.25 นิ้ว นอกจากนี้ยังมีคียบอร์ดขนาดมาตรฐาน ใช้ระบบปฎิบัติการ CP/M และกลายเป็นที่นิยมอย่างสูงในยุคนั้น เรียกได้ว่าเป็นยุคทองของเจ้า ออสบอร์น เลยทีเดียว หลักฐานสำคัญว่าเป็นยุคทองของเจ้า ออสบอร์น ก็คือ ในปี ค.ศ. 1982 มันสามารถขายได้มากกว่า 125,000 เครื่อง ก่อนหมดสิ้นความนิยม หลังจาก "ไอบีเอ็ม" ได้เริ่มสร้างอาณาจักรธุรกิจคอมพิวเตอร์ประกอบชิ้นส่วนขึ้นมา และถูกตีตลาดจากผู้ผลิตคอมพิวเตอร์ยี่ห้อ "คอมแพค" หลังจากนั้นบริษัท "ออสบอร์น" จำต้องล้มละลายในลงปี 1983
วิธีแก้ไข Google Panda เล่นงาน
วิธีการนี้เป็นขั้นตอนในการแก้ไข
- หาหน้าเว็บหรือเนื้อหาที่คุณภาพต่ำ,คุณภาพดีในเว็บคุณ แล้วแยกแยะออกมาว่าหน้าไหนที่ได้รับผลกระทบ หน้าไหนที่ไม่ได้รับผลกระทบ
- ทดสอบและวิเคราะห์ ปัจจัยต่างๆ ในหน้าที่คิดว่ามีผลกระทบจาก google panda แต่ต้องใช้ความระมัดระวังดีๆ ไม่เช่นนั้นอาจถูก Google แบนเอาได้ (Google Panda จะทำให้ผลการค้นหาต่ำลง แต่ไม่ได้แบน)
- จดรายละเอียดต่างๆของชนิดหน้าเพจในเว็บ เช่น เว็บบอร์ด, บทความที่มีคุณภาพ, บทความที่คุณภาพต่ำ, หมวดหมู่ไร้คุณภาพ, หมวดหมู่ที่มีคุณภาพ, หน้าสินค้า ฯลฯ อาจจจะจดไว้ใน Excel ก็ได้ตามสะดวก
- ทำการใส่ค่าปัจจัยต่างๆที่คิดว่ามีผลกระทบจาก google panda เช่น “โฆษณามากเกินไป” “เนื้อหาน้อยเกินไป” “เนื้อหาซ้ำทั้งหมด” “เนื้อหาซ้ำบางส่วน” ฯลฯ แล้วนับว่ามีกี่หน้าและกี่%
- ตรวจดูว่า มีอัตราส่วนของเนื้อหาคุณภาพต่ำในเว็บคุณเท่าไหร่ แล้วปรับปรุงมันซะ
- ถ้าคุณได้ สปินบทความชาวบ้านมา ให้ ลองทำการแทนที่ด้วยบทความต้นฉบับบางส่วน และบางหน้าให้ลองเอาออกไปเลย (อย่าลืมทำหน้า 301ไว้ด้วยล่ะ)
- แต่ถ้าคุณมีหน้าเว็บที่มีการซ้ำกันเยอะ (ภายในเว็บ) ให้ทำการเอาลิ๊งนั้นออกไป (อย่าลืมทำ 301) และบล็อกอย่าให้ google เข้ามาเก็บข้อมูลโดยเซ็ทค่าใน robots.txt และจะให้ดีให้ทำ canonical link ไว้ด้วยเลย
- ปรับปรุง การปรับแต่ง SEO ในหน้าที่เวอร์ๆ ให้เหมาะสมแต่พอดี
- ปรับปรุงทุกอย่างที่คิดว่า จะทำให้ผู้เข้าชมเว็บรู้สึกได้รับประสบการณ์ดีๆ มากกว่าเดิม
- อาจจะลองเสนอสิ่งที่น่าสนใจต่างๆให้กับผู้เยี่ยมชมในหน้าแรก เช่น วีดีโอ, ข้อความ,หน้าเว็บที่น่าสนใจ หรือ หน้าเกี่ยวกับเรา (about us)
- ถ้าเป็นไปได้ ทำบทความของคุณเป็นภาษาอื่นๆ ด้วย
- โปรโมทบทความเนื้อหาของคุณ ผ่านทาง Social Media เช่น Twitter และ Facebook
- สร้างการรับรู้ของ Band ของเว็บไซด์คุณ ถ้าคุณมีโอกาส
- ถ้าคุณแน่ใจแล้วว่า เว็บไซด์ของคุณ แจ่มจริง ก็อย่าลืมบอกให้ Google รู้ แต่อย่าคาดหวังว่ามันจะมีผลอะไรมากมายนะ (ไม่ได้บอกว่าบอก Google ทางไหนอ่ะดิ่)
10 เรื่องน่าสนใจเกี่ยวกับเทคโนโลยีที่อยู่ใกล้ตัวคุณ
ในปัจจุบันเทคโนโลยีเป็นสิ่งที่อยู่ใกล้ตัวมากกว่าที่เราคิด อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์อันทันสมัยก็เริ่มกลายเป็นของใช้จำเป็นสำหรับชีวิต ประจำวันเข้าไปทุกที ไม่ว่าจะเป็นโทรศัพท์มือถือ นาฬิกา หูฟัง หรือแม้กระทั่งกล้องถ่ายรูป เชื่อว่าอุปกรณ์แทบทุกชิ้นที่ยกตัวอย่างมา ทุกคนที่กำลังอ่านอยู่น่าจะมีใช้งานกัน "อย่างน้อย" คนละหนึ่งชิ้นอย่างแน่นอน ดังนั้น วันนี้เราจะมาสำรวจเทคโนโลยีใกล้ตัวของเราไปพร้อม ๆ กัน เพราะอุปกรณ์ใกล้ตัวเรานี่แหละ สามารถทำอะไรได้มากกว่าที่เราคิด
1. Smartphone อวัยวะลำดับที่ 33 ของทุกคน
คนแทบทุกเพศทุกวัย ทุกสาขาอาชีพน่าจะต้องมีโทรศัพท์มือถือเป็นของใช้ประจำกายกันแทบทุกคน แต่รู้หรือเปล่าว่าสมาร์ทโฟนในยุคนี้ทำอะไรได้มากกว่าที่เราคิด ปัจจุบันเราสามารถพูดคุยกับมือถือของเรา สั่งงานด้วยเสียงได้โดยที่ไม่ต้องกดปุ่ม สมาร์ทโฟนใหม่ ๆ แทบทุกรุ่นมี GPS ติดตั้งในตัว เราสามารถใช้เป็นเครื่องมือนำทางได้ ล่าสุดมีการประยุกต์ใช้สมาร์ทโฟนให้กลายเป็นเครื่องมือนำทางของคนตาบอด โดยใช้ความสามารถของการสั่งงานด้วยเสียงและการระบุตำแหน่งด้วยระบบ GPS ไม่แน่ว่าในอนาคตอันใกล้ เมื่อเราอยากจะตัดสินใจอะไร เราอาจจะต้องหันมาพูดคุยปรึกษากับอวัยวะลำดับที่ 33 นี้ก็เป็นได้นะ
2. Bluetooth Headset เทคโนโลยีที่ซ่อนอยู่ข้างใบหู
รู้หรือเปล่าว่าหูฟังชิ้นเล็ก ๆ นี้มีเทคโนโลยีมากมายที่ได้ถูกบรรจุเอาไว้ ไม่ว่าจะเป็นเทคโนโลยีในการตัดเสียงรบกวนรอบข้างที่จะช่วยให้การสนทนาของเรา เป็นไปอย่างราบรื่น ซึ่งมีเทคโนโลยีหลายรูปแบบที่ถูกออกแบบมาเพื่อการนี้โดยเฉพาะ เช่น การใช้ไมค์รับเสียงแบบพิเศษที่สามารถตรวจสอบคลื่นรบกวน เสียงลม เสียงรอบข้างที่ไม่ใช่เสียงพูดได้ หรือการใช้เซ็นเซอร์ในการตรวจจับการขยับของกล้ามเนื้อเพื่อใช้เป็นข้อมูล ประกอบการตัดสินใจในการตัดเสียงรบกวน นอกจากนี้หูฟังบลูทูธอย่าง Jawbone ยังสามารถลงแอพพลิเคชั่นเพื่อเพิ่มความสามารถ เพิ่มฟังก์ชั่นการทำงานได้อีกด้วย
3. Headphone นวัตกรรมเพื่อความบันเทิง
รู้หรือเปล่าว่าเสียงคุณภาพดีที่ได้จากหูฟังแต่ละประเภทมีเทคโนโลยีระดับสูง ซ่อนอยู่มากมาย การออกแบบหูฟังตัวใหญ่ ๆ กับการออกแบบหูฟังแบบ In-Ear ก็จะใช้เทคโนโลยีที่แตกต่างกัน พื้นฐานของการออกแบบหูฟัง ก็คือการพยายามย่อขนาดส่วนประกอบต่าง ๆ ของลำโพงมาบรรจุไว้ในหูฟัง โดยรักษาระดับคุณภาพของเสียงไว้ให้ได้มากที่สุด ฉะนั้นหูฟังจึงมีหลายระดับราคา ในหูฟังราคาระดับหมื่นบาทนั้นภายในจะประกอบด้วยวงจรตัวขับที่ออกแบบอย่าง พิถีพิถัน เพื่อให้ได้เสียงร้องที่ชัดเจน เสียงเบสที่หนักแน่น ลองฟังเพลงเดิมด้วยหูฟังดี ๆ สักตัวดูสิ แล้วจะรู้ว่าความแตกต่างของคุณภาพเสียงเป็นอย่างไร
4. Watch เมื่อนาฬิกาเป็นมากกว่าเครื่องบอกเวลา
ถามว่านาฬิกาเรือนนี้ "ทำอะไรได้บ้าง?" คงจะได้คำตอบมากมายเพราะนาฬิกาในยุคที่เทคโนโลยีก้าวกระโดดแบบนี้ เพราะมักมีฟังก์ชั่นการทำงานที่นอกเหนือจากความสามารถพื้นฐานอย่างใช้จับ เวลา หรือใช้บอกเวลาทั่วโลก นาฬิกาบางรุ่นสามารถเดินได้เองโดยไม่ต้องใช้ถ่านและยังคงความเที่ยงตรงไว้ ได้สมบูรณ์ 100% ซึ่งยากที่นาฬิกาแบบออโตเมติกรุ่นก่อน ๆ จะทำได้ หรือนาฬิกาที่ใช้เป็นโทรศัพท์ นาฬิกาที่ออกแบบมาเพื่อนักดำน้ำ นักปีนเขา หรือกิจกรรมเฉพาะด้าน ลองมองดูนาฬิกาที่เราสวมอยู่สิครับว่าทำอะไรได้บ้าง? มองดูแล้วอยากจะเปลี่ยนนาฬิกากันบ้างหรือยัง?
5. Tablet เมื่อความบันเทิงพกติดตัวไปได้ทุกที่
ตั้งแต่แอปเปิลเปิดตัว iPad เราก็ได้เห็นพฤติกรรมและรูปแบบการใช้ชีวิตของคนในยุคดิจิตอลเปลี่ยนไปพอ สมควร และในตอนนี้ก็มีแท็บเล็ตออกมามากมายหลายรุ่นให้เลือกใช้งาน แต่จะมีสักกี่คนที่สามารถใช้งานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ? รู้หรือไม่ว่าเราสามารถเข้าไปศึกษาหรือเข้าเรียนคอร์สต่าง ๆ ของมหาวิทยาลัยชั้นนำในต่างประเทศแบบออนไลน์ได้ เราสามารถแก้ไขไฟล์เอกสารงานต่าง ๆ ได้ด้วยชุดแอพพลิเคชั่นออฟฟิศที่มีประสิทธิภาพโดยไม่ต้องพึ่งพาคอมพิวเตอร์ อีกต่อไป และถ้าเราเป็นผู้ที่ชื่นชอบความบันเทิงรูปแบบใหม่ ๆ เดี๋ยวนี้มีเกมบนแท็บเล็ตที่เราสามารถเล่นกับเพื่อน ๆ ที่ออนไลน์อยู่อีกฝั่งนึงของโลกได้แบบเรียลไทม์เลยทีเดียว
6. E-Reader เพื่อนคู่ใจหนอนหนังสือ
หลายคนอาจจะไม่คุ้นเคยกับอุปกรณ์ E-Reader อย่าง Amazon Kindle หรือ Nook อุปกรณ์อ่านหนังสืออิเล็กทรอนิกส์คู่ใจหนอนหนังสือยุคไอที แต่ไม่ช้าก็เร็วเจ้า E-Reader จะเข้ามาแทนที่หนังสือเกือบ 100% อย่างแน่นอน รู้หรือเปล่าว่าเจ้าอุปกรณ์ชิ้นนี้ช่วยให้เราสามารถขนหนังสือเป็นพัน ๆ เล่มติดตัวไปได้โดยมีน้ำหนักไม่ถึงหนึ่งกิโลกรัม เทคโนโลยีที่ใช้ในการแสดงผลก็ให้รู้สึกในการอ่านที่ใกล้เคียงกับกระดาษอ่าน สบายตา และยังมีฟังก์ชั่นดี ๆ อย่างระบบ Note และ Bookmark ที่เราสามารถซิงค์ข้อมูลการอ่านของเราได้กับอุปกรณ์หลายตัว ทำให้สามารถอ่านหนังสือเล่มโปรดได้ทุกที่ทุกเวลาเลยล่ะ
7. Laptop เมื่อต้องพกคอมพิวเตอร์ติดตัวไปทุกที่
ไม่ว่าเราจะทำงานในสาขาอาชีพอะไร เครื่องคอมพิวเตอร์ก็ดูจะเป็นสิ่งจำเป็นในการทำงานไปแล้ว และนับตั้งแต่วันที่แล็ปท็อปเครื่องแรกถือกำเนิดขึ้น ทำให้เราหอบหิ้วเครื่องคอมพิวเตอร์ไปได้ทุกที่ จนถึงวันนี้ก็มี Ultrabook ที่เป็นแล็ปท็อปดีไซน์บางเฉียบ มีน้ำหนักเบา พกพาสบายไม่เป็นภาระ แต่ยังคงไว้ซึ่งประสิทธิภาพระดับเดียวกับเครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องใหญ่ ๆ หรือแล็ปท็อปเครื่องหนัก ๆ ที่น่าสนใจคือแล็ปท็อปรุ่นใหม่เดี๋ยวนี้มีระบบรักษาความปลอดภัยทั้งแบบสแกน นิ้วมือและแบบจดจำใบหน้า มีหน้าจอการแสดงผลที่ละเอียดและแสดงผลได้สวยงามไม่แพ้จอรุ่นใหญ่ ๆ ในอนาคตอันใกล้เราคงจะได้เห็นการรวมกันระหว่างแท็บเล็ตและแล็ปท็อปก็เป็นได้
8. Compact Camera กล้องขนาดเล็กคุณภาพเกินตัว
กล้องคอมแพคถือเป็นกล้องที่ขายดีที่สุด เพราะมีขนาดเล็ก พกพาสะดวก ราคาไม่แพง เมื่อก่อนการใช้งานกล้องคอมแพคก็เพียงเพื่อเก็บภาพประทับใจโดยไม่ได้คาดหวัง กับคุณภาพของภาพสักเท่าไร แต่รู้หรือเปล่าว่าในปัจจุบันเทคโนโลยีที่อยู่ในกล้องตัวเล็ก ๆ นี้ก้าวหน้าไปมาก กล้องคอมแพคสามารถโฟกัสใบหน้าคนได้อัตโนมัติ สามารถจดจำใบหน้าของคนที่เรารู้จัก และยังสามารถบันทึกพิกัดของสถานที่ที่เราเก็บภาพได้ด้วยระบบ GPS แถมยังสามารถส่งข้อมูลผ่าน WiFi เพื่อโอนหรือแชร์ภาพถ่ายได้ทันที และนวัตกรรมใหม่ที่เรียกว่า Mirrorless ซึ่งเป็นกล้องตัวเล็กที่สามารถเปลี่ยนเลนส์ได้ ก็ช่วยให้เราได้ภาพในระดับมืออาชีพเลยทีเดียว
9. GPS เพื่อนคู่ใจในการเดินทาง
ไลฟ์สไตล์ของคนที่ชื่นชอบการท่องเที่ยวชอบการเดินทาง อุปกรณ์นำทางอย่าง GPS Navigator ก็คงจะเป็นอุปกรณ์คู่ใจที่ช่วยให้การเดินทางมีสีสันมากยิ่งขึ้น บางคนอาจจะใช้เพียงฟังก์ชั่นพื้นฐานเท่านั้น แต่รู้หรือเปล่าว่าอุปกรณ์ GPS ในสมัยนี้มีราคาที่ถูกลงมาก แถมมีฟังก์ชั่นการใช้งานที่เพิ่มขึ้น ไม่ว่าจะเป็นจุด POI ที่ครอบคลุมมากขึ้น ระบบการจับสัญญาณดาวเทียมเพื่อคำนวณพิกัดที่ดียิ่งขึ้น ลูกเล่นในการบอกเส้นทาง เช่น การแสดงภาพทางร่วมทางแยกต่าง ๆ เป็นรูปภาพพร้อมแสดงช่องจราจรให้เสร็จสรรพ ป้องกันการเข้าเลนผิดช่องในเมืองใหญ่ ๆ ที่ถนนพันกันเป็นเส้นก๋วยเตี๋ยวได้ดียิ่งขึ้น นอกจากนี้ยังมีลูกเล่นของการพูดบอกเส้นทางเป็นภาษาต่าง ๆ ทั้งไทยและเทศ ไทยเหนือ ไทยอีสาน เสียงผู้ชาย เสียงผู้หญิง และลูกเล่นอีกมากมายที่จะช่วยให้การเดินทางเป็นเรื่องน่าสนุกมากยิ่งขึ้น
10. Handheld Game Console พกความสนุกไปทุกที่
ในยุคดิจิตอลที่เกมและความบันเทิงเป็นของคู่กัน เครื่องเกมแบบพกพา จึงเป็นสิ่งที่ได้รับความนิยมอย่างแพร่หลาย เครื่องเล่นเกมแบบพกพาอย่าง Nintendo DS, 3DS และ Sony PSP, Vita เป็นเครื่องเล่นเกมแบบพกพาที่อัดแน่นทั้งความบันเทิงและเทคโนโลยี แต่รู้หรือเปล่าว่าเครื่องเล่นเกมเครื่องเล็ก ๆ เหล่านี้ สามารถเชื่อมต่อกับอินเทอร์เน็ตเพื่อเล่น เกมออนไลน์ได้ และถึงจะมีหน้าจอเล็ก ๆ แบบนี้แต่ก็สามารถใช้ดูหนังฟังเพลงด้วยการแสดงผลภาพและเสียงที่ทำได้อย่างดี เยี่ยม นอกจากนี้ การเล่นเกมยังเพิ่มอรรถรสด้วยระบบสั่นสะเทือนในตัว สามารถเล่นเกมที่แสดงผลในแบบ 3 มิติได้ ทั้งยังมีเทคโนโลยีล่าสุดอย่าง AR (Augmented Reality) ที่พลิกโฉมรูปแบบในการเล่นเกมแบบพกพาไปอย่างสิ้นเชิง ใครที่ยังไม่ไม่เคยเล่น ลองหาโอกาสไปสัมผัสกัน
Windows 8 ดีอย่างไร
อยากทดลองใช้ Windows 8 ต้องรู้อะไรบ้าง เป็นอีกหนึ่งคำถามที่ค้างคาใจสำหรับผู้ที่ต้องการทดลองใช้ Windows 8 ไม่ต้องกลัวอีกต่อไปครับ "ไม่มีอะไรยากเกินกว่าที่เราจะพยายาม" บล๊อกนี้จะอธิบายเกี่ยวกับหน้าตาทั่วไปของ Windwos 8 ครับ
หน้าจอ Lock Screen
เมื่อเราเปิดคอมพิวเตอร์ของเราขึ้นมา หน้าจอที่เราจะเห็นก็คือ Lock Screen ในหน้าจอนี้จะแสดงเนื้อหาจากแอปแบบสดๆ เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับผู้ใช้ เราจะรู้ว่ามีอีเมลที่ยังไม่ได้อ่าน ตารางนัดหมาย โดยที่เรายังไม่ได้ปลดล๊อคอุปกรณ์
หน้าจอ Start Screen
หน้าจอ Start screen หรือเรียกอีกอย่างว่า Metro UI (Metro User Interface) หลายคนจะงงกับหน้าต่างนี้ว่ามันคือะไรหว่าา หน้านี้ก็คือหน้าที่ได้จัดรวม Application ไว้ด้วยกันครับ เช่น VDO, เกมส์ต่างๆ , รูปภาพ,และอื่นๆอีกมากมายที่รวมเป็น Icon Application ให้เราได้เลือกและสรรหาใช้งานครับ
หน้าจอ Windows Desktop
หน้าจอ Windows Desktop หน้านี้ก็คือหน้าจอปกติของ Windows 7 แหละครับ หน้านี้จะเอาไว้สำหรับเวลาที่เราเปิดพวกโปรแกรมที่เราลงเพิ่ม เช่น MS Office, Photoshop, Winamp, รวมถึงการเข้าไปใช้งานใน Drive มใน การที่เราเปิดโปรแกรมจากหน้า Metro UI บางโปรแกรมจะต้องมาทำงานในหน้าDesktop นี้ แต่บางโปรแกรมที่ไม่ต้องการ Windows desktop เวลาเราเปิดโปรแกรมบนหน้า Metro ก็จะสามารถทำงานได้เลย
อุปกรณ์คอมพิวเตอร์
1. จอภาพ (Monitor)
เป็นอุปกรณ์แสดงผลที่ มีความสำคัญมากที่สุด เพราะจะติดต่อโดยตรงกับผู้ใช้ ชนิดของจอภาพที่ใช้ในเครื่องพีซีโดยทั่วไปจะแบ่งได้เป็น 2 ชนิด
- จอซีอาร์ที (CRT : Cathode Ray Tube) โดยมากจะพบในคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะ ซึ่งลักษณะ จอภาพชนิดนี้จะคล้ายโทรทัศน์ ซึ่งจะใช้หลอดสุญญากาศ

จอแบบ CRT
การทำงานของจอประเภทนี้จะทำงานโดย อาศัยหลอดภาพ ที่สร้างภาพโดยการยิงลำแสงอิเล็กตรอนไปยังที่ผิวหน้าจอ ที่มีสารพวกสารประกอบของฟอสฟอรัส ฉาบอยู่ที่ผิว ซึ่งจะเกิดภาพขึ้นมาเมื่อสารเหล่านี้เกิดการเรืองแสงขึ้นมา เมื่อมีอิเล็กตรอนมากระทบ ซึ่งในส่วยของจอแบบ Shadow Mask นั้น จะมีการนำโลหะที่มีรูเล็กๆ มาใช้ในการกำหนดให้แสงอิเล็กตรอนนั้นยิงมาได้ถูกต้อง และแม่นยำ ซึ่งระยะห่างระหว่างรูนี้เราเรียกกันว่า Dot Pitch ซึ่งในรูนี้จะมีสารประกอบของฟอสฟอรัสวางเรียงกันอยู่เป็น 3 จุด 3 มุม โดยแต่ละจุดจะเป็นสีของแม่สีนั้นก็คือ สีแดง สีเขียว และสีน้ำเงิน ซึ่งแต่ละจุดนี้เราเรียกว่า Triad ในส่วนของจอแบบ Trinitron นั้นจะมีการทำงานที่เหมือนกันแต่ต่างกันที่ ไม่ได้ใช้โลหะเป็นรูแต่จะใช้ โลหะที่เป็นเส้นเล็กๆ ขึงพาดไปตาม แนวตั้ง เพื่อที่จะให้อิเล็คตรอนนั้นตกกระทบกับผิวจอที่มีสารประกอบของฟอสฟอรัสได้ มากขึ้น สำหรับจอ Trinitron
ในปัจจุบันนี่ได้มีการพัฒนาให้มี ความแบนราบมากขึ้นซึ่งจอแบบนี้จะเรียกกันว่า FD Trinitron (Flat Display Trinitron) ซึ่งมีมากมายในปัจจุบันและจะเข้ามาแทนที่จะแบบเดิมๆ อีกทั้งราคายังถูกลงเป็นอย่างมากด้วย
ในปัจจุบันนี่ได้มีการพัฒนาให้มี ความแบนราบมากขึ้นซึ่งจอแบบนี้จะเรียกกันว่า FD Trinitron (Flat Display Trinitron) ซึ่งมีมากมายในปัจจุบันและจะเข้ามาแทนที่จะแบบเดิมๆ อีกทั้งราคายังถูกลงเป็นอย่างมากด้วย
- จอแอลซีดี (LCD : Liquid Crystal Display) ซึ่งมี ลักษณะแบนราบ จะมี ขนาดเล็กและบาง เมื่อเปรียบเทียบกับจอภาพแบบซีแอลที

จอแบบ LCD
การทำงานนั้นจะไม่เหมือนกับจอแบบ CRT แม้สักนิดเดียว ซึ่งการแสดงภาพนั้นจะซับซ้อนกว่ามาก การทำงานนั้นอาศัยหลักของการใช้ความร้อนที่ได้จากขดลวด มาทำการเปลี่ยนและ บังคับให้ผลึกเหลวแสดงสีต่างๆ ออกมาตามที่ต้องการซึ่งการแสดงสีนั้นจะเป็นไปตามที่กำหนด ไว้ตามมาตรฐานของแต่ละ บริษัท จึงทำให้จอแบบ LCD มีขนาดที่บางกว่าจอ CRT อยู่มาก อีกทั้งยังกินไฟน้อยกว่า จึงทำให้ผู้ผลิตนำไปใช้งานกับ เครื่องคอมพิวเตอร์แบบเคลื่อนที่โน้ตบุ๊ค และเดสโน้ต ซึ่งทำให้เครื่องมีขนาดที่บางและเล็กสามารถพกพาไปได้สะดวก ในส่วนของการใช้งานกับเครื่องเดสก์ท็อปทั่วไป ก็มีซึ่งจอแบบ LCD นี้จะมีราคาที่แพงกว่าจอทั่วไปอยู่ประมาณ 2 เท่าของ ราคาในปัจจุบัน


2. เคส (Case)


เคส คือ โครงหรือกล่องสำหรับประกอบอุปกรณ์ต่าง ๆ ของคอมพิวเตอร์ไว้ภายใน การเรียกชื่อ และขนาด ของเคสจะแตกต่างกันออกไป ซึ่งในปัจจุบันมีหลายแบบที่นิยมกัน แล้วแต่ผู้ซื้อจะเลือกซื้อตามความเหมาะสม ของงาน และสถานที่นั้น

เคส (case)


3. พาวเวอร์ซัพพลาย (Power Supply)


เป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่ในการจ่ายกระแสไฟฟ้าให้กับชิ้นส่วนอุปกรณ์ คอมพิวเตอร์ ซึ่งถ้าคอมพิวเตอร์มีอุปกรณ์ต่อพวงเยอะๆ เช่น ฮาร์ดดิสก์ ซีดีรอมไดรฟ์ ดีวีดีไดรฟ์ก็ควรเลือกพาวเวอร์ซัพพลายที่มีจำนวนวัตต์สูง เพื่อให้สามารถ จ่ายกระแสไฟได้เพียงพอ

Power Supply

Power Supply


4. คีย์บอร์ด (Keyboard)


เป็นอุปกรณ์ในการรับข้อมูลที่สำคัญที่สุด มีลักษณะคล้ายแป้นพิมพ์ ของเครื่องพิมพ์ดีด มีจำนวนแป้น 84 - 105 แป้น ขึ้นอยู่กับแป้นที่เป็น กลุ่มตัวเลข (Numeric keypad) กลุ่มฟังก์ชัน (Function keys) กลุ่มแป้นพิเศษ (Special-purpose keys) กลุ่มแป้นตัวอักษร (Typewriter keys) หรือกลุ่มแป้นควบคุมอื่น ๆ (Control keys) ซึ่งการสั่งงานคอมพิวเตอร์และการทำงานหลายๆ อย่างจำเป็นต้องใช้แป้นพิมพ์เป็นหลัก

Keyboard

Keyboard


5. เมาส์ (Mouse)


อุปกรณ์รับข้อมูลที่นิยมรองจากคีย์บอร์ด เมาส์จะช่วยในการบ่งชี้ตำแหน่งว่าขณะนี้กำลังอยู่ ณ จุดใดบนจอภาพ เรียกว่า"ตัวชี้ตำแหน่ง (Pointer)" ซึ่งอาศัยการเลื่อนเมาส์ แทนการกดปุ่มบังคับทิศทางบนคีย์บอร์ด

Mouse


6. เมนบอร์ด (Main board)


แผ่นวงจรไฟฟ้าแผ่นใหญ่ที่รวมเอาชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ที่สำคัญๆมาไว้ด้วย กัน ซึ่งเป็นส่วนที่ควบคุม การทำงานของ อุปกรณ์ต่างๆ ภายในพีชีทั้งหมด มีลักษณะเป็นแผ่น รูปร่างสี่เหลี่ยมแผ่นที่ใหญ่ที่สุดในพีชี ที่จะรวบรวมเอาชิปและไอชี (IC = Integrated Circuit) รวมทั้ง การ์ดต่อพ่วงอื่นๆ เอาไว้ด้วยกันบนบอร์ดเพียงอันเดียวเครื่องพีชีทุกเครื่องไม่สามารถทำงาน ได้ถ้าขาดเมนบอร์ด

Mainboard

Mainboard


7. ซีพียู (CPU)


ซีพียูหรือหน่วยประมวลผลกลาง เรียกอีกชื่อหนึ่งว่า โปรเซสเซอร์ (Processor) หรือ ชิป (chip) นับเป็นอุปกรณ์ที่มีความสำคัญมากที่สุดของฮาร์ดแวร์ เพราะมีหน้าที่ในการประมวลผลจากข้อมูลที่ผู้ใช้ป้อน เข้ามาทางอุปกรณ์นำเข้าข้อมูลตามชุดคำสั่งหรือโปรแกรมที่ผู้ใช้ต้องการใช้ งาน หน่วยประมวลผลกลาง ประกอบด้วยส่วนสำคัญ 3 ส่วน คือ
1) หน่วยคำนวณและตรรกะ (Arithmetic & Logical Unit: ALU) หน่วยคำนวณตรรกะ ทำหน้าที่เหมือนกับเครื่องคำนวณอยู่ในเครื่องคอมพิวเตอร์ โดยทำงานเกี่ยวกับการคำนวณทางคณิตศาสตร์ เช่น บวก ลบ คูณ หาร อีกทั้งยังมีความสามารถอีกอย่างหนึ่งที่เครื่องคำนวณธรรมดาไม่มี คือ ความสามารถในเชิงตรรกะศาสตร์ หมายถึง ความสามารถในการเปรียบเทียบตามเงื่อนไขและกฎเกณฑ์ทางคณิตศาสตร์ เพื่อให้ได้คำตอบออกมาว่าเงื่อนไข นั้นเป็น จริง หรือ เท็จ ได้
2) หน่วยควบคุม (Control Unit) หน่วยควบคุม ทำหน้าที่ควบคุมลำดับขั้นตอนการประมวลผล รวมไปถึงการประสานงานกับอุปกรณ์นำเข้าข้อมูล อุปกรณ์แสดงผล และหน่วยความจำสำรองด้วย ซีพียูที่มีจำหน่ายในท้องตลาด ได้แก่ Pentium III , Pentium 4 , Pentium M (Centrino) , Celeron , Dulon , Athlon

CPU


8. การ์ดแสดงผล (Display Card)


การ์ดแสดงผลใช้สำหรับเก็บข้อมูลที่ได้รับมาจากซีพียู โดยที่การ์ดบางรุ่นสามารถประมวลผลได้ในตัวการ์ด ซึ่งจะช่วยแบ่งเบาภาระการประมวลผลให้ซีพียู จึงทำให้การทำงานของคอมพิวเตอร์นั้นเร็วขึ้นด้วย ซึ่งตัวการ์ดแสดงผลนั้นจะมีหน่วยความจำในตัวของมันเอง ถ้าตัวการ์ดมีหน่วยความจำมาก ก็จะรับข้อมูลจากซีพียูได้มากขึ้น ซึ่งจะช่วยให้การแสดงผลบนจอภาพมีความเร็วสูงขึ้นด้วย

Display Card
หลักกันทำงานพื้นฐานของการ์ดแสดงผลจะเริ่มต้นขึ้น เมื่อโปรแกรมต่างๆ ส่งข้อมูลมาประมวลผลที่ ซีพียูเมื่อซีพียูประมวลผล เสร็จแล้ว ก็จะส่งข้อมูลที่จะนำมาแสดงผลบนจอภาพมาที่การ์ดแสดงผล จากนั้น การ์ดแสดงผล ก็จะส่งข้อมูลนี้มาที่จอภาพ ตามข้อมูลที่ได้รับมา การ์ดแสดงผลรุ่นใหม่ๆ ที่ออกมาส่วนใหญ่ ก็จะมีวงจร ในการเร่งความเร็วการแสดงผลภาพสามมิติ และมีหน่วยความจำมาให้มากพอสมควร


9. แรม (RAM)


RAM ย่อมาจากคำว่า Random-Access Memory เป็น หน่วยความจำหลักแต่ไม่ถาวร ซึ่งจะต้องมีไฟมาหล่อเลี้ยงอุปกรณ์ตลอดในการทำงาน โดยถ้าเกิดไฟฟ้ากระพริบหรือดับ ข้อมูลที่ถูกบันทึกไว้ในหน่วยความจำจะหายไปทันที

SDRAM

DDR-RAM

RDRAM
โดยหลักการทำงานคร่าวๆ ของแรมนั้นเริ่มต้นที่รับข้อมูลจากผู้ใช้ผ่านอุปกรณ์ Input จากนั้นก็จะส่งข้อมูลไปยัง CPU ในการประมวลผล เมื่อ CPU ประมวลผลเสร็จแล้ว แรมจะรับข้อมูลที่ได้รับการประมวลผลแล้ว ออกไปยังอุปกรณ์ Output ต่อไป โดยหน่วยความจำแรมที่ใช้ในปัจจุบันมีหลายชนิด เช่น SDRAM, DDR-RAM, RDRAM


10. ฮาร์ดดิสก์ (Hard disk)


เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ในการเก็บข้อมูลหรือโปรแกรมต่างๆ ของคอมพิวเตอร์ โดยฮาร์ดดิสค์จะมีลักษณะเป็นรูปสี่เหลี่ยมที่มีเปลือกนอก เป็นโลหะแข็ง และมีแผงวงจรสำหรับการควบคุมการทำงานประกบอยู่ที่ด้านล่าง พร้อมกับช่องเสียบสายสัญญาณและสายไฟเลี้ยง ส่วนประกอบภายในจะถูกปิดผนึกไว้อย่างมิดชิด โดยฮาร์ดดิสค์ส่วนใหญ่จะประกอบด้วยแผ่นจานแม่เหล็ก(platters) สองแผ่นหรือมากกว่ามาจัด เรียงอยู่บนแกนเดียวกันเรียก Spindle ทำให้แผ่นแม่เหล็กหมุนไปพร้อม ๆ กัน จากการขับเคลื่อนของมอเตอร์ แต่ละหน้าของแผ่นจานจะมีหัวอ่านเขียนประจำเฉพาะ โดยหัวอ่านเขียนทุกหัวจะเชื่อมติดกันคล้ายหวี สามารถเคลื่อนเข้าออกระหว่างแทร็กต่าง ๆ อย่างรวดเร็ว ซึ่งอินเตอร์เฟสของฮาร์ดดิสก์ที่ใช้ในปัจจุบัน มีอยู่ 3 ชนิดด้วยกัน
- IDE (Integrated Drive Electronics)
เป็นระบบของ ฮาร์ดดิสก์อินเตอร์เฟสที่ใช้กันมากในปัจจุบันนี้ การต่อไดร์ฟฮาร์ดดิสก์แบบ IDE จะต่อผ่านสายแพรและคอนเน็คเตอร์จำนวน 40 ขาที่มีอยู่บนเมนบอร์ด ส่วนใหญ่แล้วใน 1 คอนเน็คเตอร์ จะสามารถต่อฮาร์ดดิสก์ได้ 2 ตัวและบนเมนบอร์ด

Harddisk แบบ IDE

IDE Cable
- SCSI (Small Computer System Interface)
เป็นอินเตอร์เฟสที่แตกต่างจากอินเตอร์เฟสแบบอื่น ๆ มาก โดยจะอาศัย Controller Card ที่มี Processor อยู่ในตัวเองทำให้เป็นส่วนเพิ่มขยายกับแผงวงจรใหม่โดยจะสนับสนุนการต่อ อุปกรณ์ได้ถึง 8 ตัว แต่การ์ดบางรุ่นอาจจะได้ถึง 14 ตัวทีเดียว โดยส่วนใหญ่แล้วจะใช้งานในรูปแบบ Server เพราะมีราคาแพงแต่มีความเร็วในการส่งข้อมูลสูง

Harddisk แบบ SCSI

SCSI controller
- Serial ATA (Advanced Technology Attachment)
เป็นอินเตอร์เฟสแบบใหม่ เปิดตัวครั้งแรกในวันที่ 26 มิถุนายน 2545 งาน PC Expo ใน New York มีความเร็วในเข้าถึงข้อมูลถึง 150 Mbytes ต่อ วินาที และให้ผลตอบสนองในการทำงานได้เร็วมากในส่วนของ extreme application เช่น Game Home Video และ Home Network Hub โดยเป็นอินเตอร์เฟสที่จะมาแทนที่ของ IDE ในปัจจุบัน

Harddisk แบบ Serial ATA

Serial ATA Cable


11. CD-ROM / CD-RW / DVD / DVD-RW


เป็นไดรฟ์สำหรับอ่านข้อมูลจากแผ่นซีดีรอม หรือดีวีดีรอม ซึ่งถ้าหากต้องการบันทึกข้อมูลลงบนแผ่นจะต้องใช้ไดรฟ์ที่สามารถเขียนแผ่นได้ คือ CD-RW หรือ DVD-RW โดยความเร็วของ ซีดีรอมจะเรียกเป็น X เช่น 16X , 32X หรือ 52X โดยจะมี Interface เดียวกับ Harddisk

CD-ROM
การทำงานของ CD-ROM ภายในซีดีรอมจะแบ่งเป็นแทร็กและเซ็กเตอร์เหมือนกับแผ่นดิสก์ แต่เซ็กเตอร์ในซีดีรอมจะมีขนาดเท่ากัน ทุกเซ็กเตอร์ ทำให้สามารถเก็บข้อมูลได้มากขึ้น เมื่อไดรฟ์ซีดีรอมเริ่มทำงานมอเตอร์จะเริ่มหมุนด้วยความเร็ว หลายค่า ทั้งนี้เพื่อให้อัตราเร็วในการอ่านข้อมูลจากซีดีรอมคงที่สม่ำเสมอทุกเซ็ก เตอร์ ไม่ว่าจะเป็นเซ็กเตอร์ ที่อยู่รอบนอกกรือวงในก็ตาม จากนั้นแสงเลเซอร์จะฉายลงซีดีรอม โดยลำแสงจะถูกโฟกัสด้วยเลนส์ที่เคลื่อนตำแหน่งได้ โดยการทำงานของขดลวด ลำแสงเลเซอร์จะทะลุผ่านไปที่ซีดีรอมแล้วถูกสะท้อนกลับ ที่ผิวหน้าของซีดีรอมจะเป็น หลุมเป็นบ่อ ส่วนที่เป็นหลุมลงไปเรียก "แลนด์" สำหรับบริเวณที่ไม่มีการเจาะลึกลงไปเรียก "พิต" ผิวสองรูปแบบนี้เราใช้แทนการเก็บข้อมูลในรูปแบบของ 1 และ 0 แสงเมื่อถูกพิตจะกระจายไปไม่สะท้อนกลับ แต่เมื่อแสงถูกเลนส์จะสะท้อนกลับผ่านแท่งปริซึม จากนั้นหักเหผ่านแท่งปริซึมไปยังตัวตรวจจับแสงอีกที ทุกๆช่วงของลำแสงที่กระทบตัวตรวจจับแสงจะกำเนิดแรงดันไฟฟ้า หรือเกิด 1 และ 0 ที่ทำให้คอมพิวเตอร์สามารถเข้าใจได้ ส่วนการบันทึกข้อมูลลงแผ่นซีดีรอมนั้นต้องใช้แสงเลเซอร์เช่นกัน โดยมีลำแสงเลเซอร์จากหัวบันทึกของเครื่อง บันทึกข้อมูลส่องไปกระทบพื้นผิวหน้าของแผ่น ถ้าส่องไปกระทบบริเวณใดจะทำให้บริเวณนั้นเป็นหลุมขนาดเล็ก บริเวณทีไม่ถูกบันทึกจะมีลักษณะเป็นพื้นเรียบสลับกันไปเรื่อยๆตลอดทั้งแผ่น

CD-ROM
การทำงานของ CD-ROM ภายในซีดีรอมจะแบ่งเป็นแทร็กและเซ็กเตอร์เหมือนกับแผ่นดิสก์ แต่เซ็กเตอร์ในซีดีรอมจะมีขนาดเท่ากัน ทุกเซ็กเตอร์ ทำให้สามารถเก็บข้อมูลได้มากขึ้น เมื่อไดรฟ์ซีดีรอมเริ่มทำงานมอเตอร์จะเริ่มหมุนด้วยความเร็ว หลายค่า ทั้งนี้เพื่อให้อัตราเร็วในการอ่านข้อมูลจากซีดีรอมคงที่สม่ำเสมอทุกเซ็ก เตอร์ ไม่ว่าจะเป็นเซ็กเตอร์ ที่อยู่รอบนอกกรือวงในก็ตาม จากนั้นแสงเลเซอร์จะฉายลงซีดีรอม โดยลำแสงจะถูกโฟกัสด้วยเลนส์ที่เคลื่อนตำแหน่งได้ โดยการทำงานของขดลวด ลำแสงเลเซอร์จะทะลุผ่านไปที่ซีดีรอมแล้วถูกสะท้อนกลับ ที่ผิวหน้าของซีดีรอมจะเป็น หลุมเป็นบ่อ ส่วนที่เป็นหลุมลงไปเรียก "แลนด์" สำหรับบริเวณที่ไม่มีการเจาะลึกลงไปเรียก "พิต" ผิวสองรูปแบบนี้เราใช้แทนการเก็บข้อมูลในรูปแบบของ 1 และ 0 แสงเมื่อถูกพิตจะกระจายไปไม่สะท้อนกลับ แต่เมื่อแสงถูกเลนส์จะสะท้อนกลับผ่านแท่งปริซึม จากนั้นหักเหผ่านแท่งปริซึมไปยังตัวตรวจจับแสงอีกที ทุกๆช่วงของลำแสงที่กระทบตัวตรวจจับแสงจะกำเนิดแรงดันไฟฟ้า หรือเกิด 1 และ 0 ที่ทำให้คอมพิวเตอร์สามารถเข้าใจได้ ส่วนการบันทึกข้อมูลลงแผ่นซีดีรอมนั้นต้องใช้แสงเลเซอร์เช่นกัน โดยมีลำแสงเลเซอร์จากหัวบันทึกของเครื่อง บันทึกข้อมูลส่องไปกระทบพื้นผิวหน้าของแผ่น ถ้าส่องไปกระทบบริเวณใดจะทำให้บริเวณนั้นเป็นหลุมขนาดเล็ก บริเวณทีไม่ถูกบันทึกจะมีลักษณะเป็นพื้นเรียบสลับกันไปเรื่อยๆตลอดทั้งแผ่น


12. ฟล็อปปี้ดิสก์ (Floppy Disk)


เป็นอุปกรณ์ที่กำเนิดมาก่อนยุคของพีซีเสียอีก โดยเริ่มจากที่มีขนาด 8 นิ้ว กลายมาเป็น 5.25 นิ้ว จนมาถึงปัจจุบันซึ่งอยู่ที่ 3.5 นิ้ว ในส่วนของความจุเริ่มต้นตั้งแต่ไม่กี่ร้อยกิโลไบต์มาเป็น 1.44 เมกะไบต์ และ 2.88 เมกะไบต์ ตามลำดับ

Floppy Disk Drive
ในปัจจุบันการใช้งานฟล็อปปี้ดิสก์นั้นน้อยลงไปมากเพราะ เนื่องจากจุข้อมูลได้น้อยซึ่งไม่เพียงพอกับความต้องการ แต่ฟล็อปปี้ดิสก์ก็ยังคงเป็นมาตรฐานหนึ่งที่เครื่องคอมพิวเตอร์ทุกเครื่อง ต้องมี การพัฒนาฟล็อปปี้ดิสก์ก็ไม่ได้หยุดยั้งไปเสียทีเดียว ยังมีการพัฒนาเทคโนโลยีใหม่ที่ใช้ระบบ Optical ทำให้สามารถขยายความจุไปได้ถึง 120 เมกะไบต์ต่อแผ่น
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)